ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา
ผู้แต่ง
ไม่ปรากฏนามผู้แต่งตอนขุนช้างถวายฎีกาแต่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าแต่งดีเยี่ยมโดยเฉพาะ กระบวนกลอนที่สื่ออารมณ์สะเทือนใจ(เป็น ๑ ใน ๘ ตอนที่ได้รับการยกย่อง) ในตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและตอนขุนแผนพานางวันทองหนีเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทองเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนกำเนิดพลายงามเป็นสำนวนของสุนทรภู่
เนื้อเรื่อง
กล่าวถึงพลายงาม เมื่อชนะคดีความขุนช้างแล้ว ขุนช้างได้พานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรี ส่วนตัวพลายงามเองก็กลับไปอยู่บ้านพร้อมหน้าญาติและพ่อ ขาดก็แต่แม่ ทำให้พลายงามเกิดความคิดที่จะพานางวันทองกลับมาอยู่ด้วยกัน จะได้พร้อมหน้าพ่อ แม่ ลูก พอตกดึกจึงไปลอบขึ้นเรือนขุนช้างแล้วพานางวันทองหนีมาอยู่ที่บ้านกับตน ตอนแรกนางก็ไม่ยินยอมที่จะมา เพราะกลัวจะเป็นเรื่องให้อับอายว่า คนนั้นลากไป คนนี้ลากมาอีกและเกรงจะมีปัญหาตามมาภายหลัง จึงบอกให้พลายงามนำความไปปรึกษาขุนแผน เพื่อฟ้องร้องขุนช้างดีกว่าจะมาลักพาตัวไปแต่พลายงามไม่ยอมสุดท้ายนางวันทองจึงจำต้องยอมไปกับพลายงาม ฝ่ายขุนช้างนอนฝันร้ายก็ผวาตื่นเอาตอนสาย ครั้นตื่นขึ้นมาก็ร้องเรียกหานางวันทอง ออกมาถามบ่าวไพร่ก็ไม่มีใครเห็นจึงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟมุ่งมั่นจะตามนางวันทองกลับมาให้ได้ ฝ่ายพลายงามก็เกรงว่าขุนช้างจะเอาผิด ถ้ารู้ว่าตนไปพานางวันทองมา จะเพ็ดทูลสมเด็จพระพันวษาอีก แม่อาจจะต้องโทษได้ จึงใช้ให้หมื่นวิเศษผลไปบอกขุนช้างว่า ตนนั้นป่วยหนักอยากเห็นหน้าแม่ จึงใช้ให้คนไปตามนางวันทองมาเมื่อกลางดึก ขอให้แม่อยู่กับตนสักพักหนึ่งแล้วจะส่งตัวกลับมาอยู่กับขุนช้างตามเดิม ขุนช้างโมโหและแค้นยิ่งนักที่พลายงามทำเหมือนข่มเหงไม่เกรงใจตน จึงร่างคำร้องถวายฎีกาแล้วลอยคอมายังเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระพันวษาเพื่อถวายฎีกา ทำให้สมเด็จพระพันวษาพิโรธมาก ให้ทหารรับคำฟ้องมาแล้วให้เฆี่ยนขุนช้าง ๓๐ ที แล้วปล่อยไป และยังทรงตั้งกฤษฎีกาการรักษาความปลอดภัยว่า ต่อไปข้าราชการผู้ใดที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้วปล่อยให้ใครเข้ามาโดยมิได้รับอนุญาตจะมีโทษมหันต์ถึงประหารชีวิต
กล่าวฝ่ายขุนแผนนอนอยูในเรือนกับนางแก้วกิริยาและนางลาวทองอย่างมีความสุข ครั้นสองนางหลับ ขุนแผนก็คิดถึงนางวันทองที่พลายงามไปนำตัวมาไว้ที่บ้าน จึงออกจากห้องย่องไปหานางวันทองหวังจะร่วมหลับนอนกัน แต่นางปฏิเสธแล้วพากันหลับไป แต่พอตกตึกนางวันทองก็เกิดฝันร้ายตกใจตื่นเล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง ขุนแผนฟังความฝันของนางก็รู้ทันทีว่าเป็นเรื่องร้ายอันตรายถึงชีวิตแน่นอน แต่ก็แกล้งทำนายไปในทางดีเสีย เพื่อนางจะได้สบายใจ ฝ่ายสมเด็จพระพันวษา ครั้นทรงอ่านคำฟ้องของขุนช้างก็ทรงกริ้วยิ่งนัก ให้ทหารไปตามตัวนางวันทอง ขุนแผนและพระไวยมาเฝ้าทันทีขุนแผนเกรงว่านางวันทองจะมีภัย จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้นางวันทองทาปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตา แล้วจึงพานางเข้าเฝ้า เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ใจอ่อนเอ็นดู ตรัสถามเรื่องราวที่เป็นมาจากนางวันทองว่า ตอนชนะคดีให้ไปอยู่กับขุนแผนแล้วทำไมจึงไปอยู่กับขุนช้างนางวันทองก็กราบทูลด้วยความกลัวไปตามจริงว่า ขุนแผนถูกจองจำ ขุนช้างเอาพระโองการไปอ้างให้ฉุดนางไปอยู่ด้วย เพื่อนบ้านเห็นเหตุการณ์ก็ไม่กล้าเข้าช่วยเพราะกลัวผิดพระโองการ สมเด็จพระพันวษาฟังความทรงกริ้วขุนช้างมาก ทรงถามนางวันทองอีกว่าขุนช้างไปฉุดให้อยู่ด้วยกันมาตั้ง ๑๘ ปี แล้วคราวนี้หนีมาหรือมี ใครไปรับมาอยู่กับขุนแผน นางวันทองก็กราบทูลไปตามจริงว่า พระไวยเป็นผู้ไปรับมาเวลาสองยาม ขุนช้างจึงหาความว่า หลบหนี สมเด็จพระพันวษาทรงกริ้วพระไวยที่ทำอะไรตามใจตน นึกจะขึ้นบ้านใครก็ขึ้น ทำเหมือนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป และว่าขุนแผนรู้เห็นเป็นใจ สมเด็จพระพันวษาทรงคิดว่า สาเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนี้เกิดจากนางวันทองจึงให้นางวันทองตัดสินใจว่าจะอยู่กับใคร นางวันทองตกใจ ประหม่า อีกทั้งจะหมดอายุขัยจึงบันดาลให้พูดไม่ออกบอกไม่ถูกว่าจะอยู่กับใคร นางให้เหตุผลว่า นางรักขุนแผน แต่ขุนช้างก็ดีกับนาง ส่วนพลายงามก็เป็นลูกรัก ทำให้สมเด็จพระพันวษากริ้วมาก เห็นว่านางวันทองเป็นคนหลายใจ เป็นหญิงแพศยา จึงให้ประหารชีวิตนางวันทองเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป
คุณค่าที่ได้รับ
ด้านวรรณศิลป์ ด้านสังคม
• แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแต่ง เช่น
๑. การพรรณนาให้เห็นภาพ
๒. สัมผัสอักษร
๓. ภาพพจน์
๓.๑ อุปมา
๓.๒ อุปลักษณ์
๓.๓ สัทพจน์
๓.๔ คำถามเชิงวาทศิลป์
• แสดงให้เห็นภาพสังคมสมัยก่อนๆเช่น
๑. ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
๒. ความรักนะหว่างแม่และลูก
๓. สะท้อนให้เห็นชีวิต วัฒนธรรม ค่านิยม และความเชื่อ
๔. ความเชื่อในกฎแห่งกรรม
ด้านวรรณศิลป์ ด้านสังคม
• แสดงให้เห็นถึงศิลปะการแต่ง เช่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น