ภาษาต่างประเทศ

คำ และชนิดของคำ (Parts of speech)

     Parts of Speech คือ ชนิดของคำ
 
    Parts of Speech มีอะไรบ้าง ง่ายๆ จำไว้แค่ว่า มี 8 อย่างเท่านั้นเอง มี
 
    1. Noun คำนาม
    2. Pronoun คำสรรพนาม
    3. Verb กริยา
    4. Adverb กริยาวิเศษณ์
    5. Adjective คำคุณศัพท์
    6. Preposition บุพบท
    7. Conjunction คำสันธาน
    8. Interjection คำอุทาน    



  
 
 1. Noun คือ คำที่ใช้เรียกแทน ชื่อ คน สัตย์ สิ่งของ 
    คำนามมี นามทั่วไป กับ นามเฉพาะ  
    ตำแหน่งและหน้าที่: เป็นได้ทั้งประธานและกรรม ในประโยค

 
2. Pronoun คือ คำที่ใช้เรียกแทน Noun หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำ
    ยกตัวอย่าง เวลาเราเรียกหรือเอ่ยคำใดคำหนึ่งบ่อยๆจะหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำโดยการใช้คำ สรรพนาม แทน
    คือ ครั้งแรก เรียกชื่อ และครั้งต่อๆไปจึงเรียก เขา หรือ เธอ 
 
3. Verb ก็คือกริยา มี verb แท้ และ verb ไม่แท้
    มีวิธีสังเกตุง่ายๆ
    verb แท้ จะผันตามประธานและ tense ค่ะ รวมถึง helping verb ทั้ง 24 ตัว
    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 กริยาจะผันตามประธานคือ เติม s หรือ es 
    ก่อนอื่นเลย บุรุษที่ 1 ก็คือ ตัวผู้ผูดเอง มีแค่ I กับ we
                 บุรษที่ 2 คือ คนที่เราพูดด้วย คือ you
                 บุรุษที่ 3 คือ คนที่เราพูดถึง หรือที่เรามักคุ้นเคยกับคำว่า บุคคลที่สามนั่นเอง มีคำว่า they he she it
    แล้วเอกพจน์บุรษที่สามคือคำว่า he she it ค่ะ ที่เป็นเอกพจน์แล้วก็อยู่ในบุรุษที่ 3 ด้วย ส่วน they เป็นพหูพจน์ค่ะ
    เอกพจน์บุรุษย์ที่ 3 ยังรวมถึง ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่มีสิ่งเดียวอันเดียวด้วย
 
    ตัวอย่างการผันของกริยาตามประธาน

    Marry loves playing sports. แมรี่ชอบเล่นกีฬา
 
    สังเกตุว่าประโยคนี้ loves เติม s ค่ะ แสดงว่า ประโยคนี้ กริยาแท้จะต้องเป็น loves

    ถ้าผันตาม tense 

    He has never told me before that he is a gay. เขาไม่เคยบอกฉันมาก่อนว่าเขาเป็นเกย์ - -''

    ประโยคนี้ กริยาตัวที่ผันตาม tenseคือ คำว่า told เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นpresent perfect tense คือ เขาไม่เคยบอกตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่บอก และมีแนวโน้มว่าเขาจะไม่บอกในอนาคต
 
    และกริยาไม่แท้ที่เหลือ คือ present participle และ past participle
 
    modal verb คือ can, could, may, might, will, would, shall, should ,ought to,  be boing to, etc. มี 24 ตัว
 
    present participle คืออะไรหว่า ก็ กริยาที่ เติม ing  แต่พวกนี้ไม่ใช่ gerund และก็จะแปลต่างจาก present continuous tense ด้วยนะ  
    Past participle คือ กริยาที่เติม ed หรือ verb ช่อง 3 ไง ใช้เพื่อขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน หมายถึง คำที่ถูกขยายถูกกระทำ
 
    ตัวอย่างระหว่าง present participle กับ past participle
 
    A man standing next to the door is my boyfriend. ผู้ชายที่ยืนอยู่ใกล้ประตูเป็นแฟนฉันเอง
  
    ขั้นแรก มองหากริยาไหนที่ผันตามประธานและ tense เป็นกริยาแท้  is บ่งบอกว่าประธานเป็นเอกพจน์
 
    แล้วคำว่า standing ก็คือ present participle เอาไว้ขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน คือคำว่า man
    สรุปแล้ว standing ขยายคำว่า man หมายถึง man กระทำกริยายืน ไม่มีใครยืนให้ 

 
4. Adverb คือ คำที่ขยาย กริยา แต่ ไม่ใช่แค่ขยาย verb ได้อย่างเดียว
 
    Adverb ขยายได้ 3 อย่าง คือ ขยาย verb, adjective หรือแม้กระทั้ง ขยาย adverb ด้วยกันเอง

    1. Slowly, I walk to school. adverb อยู่หน้าประโยค เวลาที่เน้นกริยาเป็นพิเศษ
    2. I walk to school slowly.   adverb อยู่หลัง verb เมื่ออยากขยาย verb แบบ เบๆ ปกติ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
    3. I always walk to school.  adverb อยู่หน้า verb เมื่อเป็น adverb บอกความถี่ ( adverb บอกความถี่ก็อยู่หน้าประโยคได้ ถ้าต้องการเน้นกริยาเป็นพิเศษ แต่ บอกความถี่อยู่หลัง verb ไม่ได้)
 
    เมื่อพี่ adverb ขยาย adverb ด้วยกันเอง ตำแหน่งของพี่เขาจะอยู่ หน้า adverb ที่ขยาย
    I walk very slowly. (very เป็น adverb ขาย slowly ซึ่งเป็น adverb เหมือนกัน หมายถึง ช้ามากๆ)
 
    เมื่อพี่ adverb ขยาย adjective หล่ะ ตำแหน่งของพี่เขาจะอยู่หน้า adjective ที่พี่เขาต้องการขยายค่ะ
    I think you are pretty pretty. ฉันคิดว่าคุณค่อนข้างน่ารัก
 
    จริงอยู่ที่ pretty แปลว่า น่ารัก ถ้าคำนั้นเป็น adjective
    แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ pretty เป็น adverb ความหมายจะเปลี่ยนทันที กลายแปลว่า ค่อนข้างค่ะ เหมือนคำว่า quite
 
 
5. Adjective คือ คำที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม ตำแหน่งมีแค่ 2 ที่ เน้นๆ อยู่หลัง v.to be และ อยู่หน้าคำนามที่่มันขยายเสมอ
 
    ตำแหน่งที่ 1 อยู่หลัง v. to be
    เช่น I am beautiful. ฉันสวย (ประโยคนี้ adjective อยู่หลัง am ซึ่งเป็น v. to be  และหน้าที่ของมันก็คือขยายคำนามหรือสรรพนาม ก็ขยายคำว่า I )
 
    ตำแหน่งที่ 2 อยู่หน้าคำนามที่มัันขยายค่ะ
    เช่น pretty girl เด็กหญิงผู้น่ารัก (pretty เป็นคำ adjective แปลว่า น่ารัก ขยายคำว่า เด็กผู้หญิง ให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น สังเกตุว่า อยู่หน้าคำนาม)
 
    แต่จำไว้ว่า adjective ขยายนามที่อยู่ข้างหลัง ส่วน adjective clause ขยายนามที่อยู่ข้างหน้า 
 
    ในกรณีที่เราจะใช้ adjective หลายๆตัว ขยายคำนามพร้อมกัน 

    opinion size age shape colour origin material N1 N2 
    ความคิดเห็น ขนาด อายุ รูปร่าง สี ต้นกำเนิด วัสดุที่ทำ นาม1 นาม2

size รวมถึง lenght ที่เป็นความยาวด้วยนะคะ
shape รวมถึง width ที่เป็นความกว้าง
 
ตัวอย่างเช่น
 
beautiful long straight black hair. 
 
beautiful เป็น opinion เป็นความคิดเห็นว่า ผมสวยหรือไม่สวย
long เป็น size  บ่งบอกว่า มีผมยาว และที่สำคัญ size รวมถึงความยาวด้วย
straight เป็น shape  (size มาก่อน shape ถูกต้องแล้ว) บ่งบอกว่า รูปร่างของผมว่าเป็นผมตรง
black เป็น colour  ผมมีสีดำ
 

6. Preposition ใช้เพื่อระบุ ตำแหน่ง วัน เวลา และสถานที่
     prep. บอกตำแหน่ง ได้แก่ at, in, on, under, next to, beside, behide, in front of, etc.
     prep. บอกวันใช้ on บอกเดือนและปีใช้ in (ถ้าบอก วันเดือนปี พร้อมกัน ให้ใช้ on)
     prep. บอกเวลาใช้ at
     prep. บอกสถานที่ใช้ at  แต่ถ้าบอกว่า อยู่จังหวัดใด ประเทศใด ใช้ in นะคะ

 
7. Conjunction ใช้ เชื่อมคำ หรือ เชื่อมความ
    ถ้าเราจำ FANBOYS 
    F = for
    A = and
    N = nor
    B = but
    O = or
    Y = yet
    S = so

8. Interjection เพิ่มสีสันให้แก่ชีวิต บ่งบอกอารมณ์และความรู้สึก
  interjection นั้น คือ คำอุทาน มีทั้งอุทานเป็นคำ และ อุทานเป็นประโยค 


หลักการจำที่เข้าใจง่าย 

                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ part of speech 



                  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ part of speech

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับ